รู้ไว้! วิธีการใช้อุปกรณ์ช่วยเหลือบนรถบัสที่ถูกต้อง ในกรณีที่มีเหตุฉุกเฉิน

หากพูดถึงการเดินทางแล้วความปลอดภัยถือเป็นเรื่องสำคัญที่สุด ดังนั้นรถบัสเช่าของภัสสรชัยทัวร์จึงมีมาตรฐานความปลอดภัยต่างๆที่รัดกุม เพื่อให้การเดินทางนั้นมีเป็นไปอย่างราบรื่นมากที่สุด และในขณะเดียวกันเราก็ไม่ลืมที่จะเตรียมความพร้อมมือกับสิ่งต่างๆที่อาจจะเกิดขึ้นได้ในระหว่าการเดินทาง ดังนั้นภายในรถบัสทุกคันจึงมีอุปกรณ์สำคัญ ที่จะช่วยให้ทุกท่านสามารถออกจากตัวรถได้เมื่อเกิดเหตุฉุกเฉินร้ายแรงแบบไม่คาดฝัน ซึ่งจะมีอะไรบ้างและมีวิธีการใช้งานอย่างไร ไปดูรายละเอียดกันเลย

อุปกรณ์ช่วยเหลือฉุกเฉินบนรถบัสมีอะไรบ้าง

เมื่อเกิดเหตุการณ์ไม่คาดคิดเพื่อให้ทุกคนสามารถออกจากตัวรถบัสได้อย่างปลอดภัย จึงจำเป็นที่จะต้องรู้จักอุปกรณ์ช่วยเหลือ 3 อย่างบนรถดังนี้

ค้อนทุบกระจก

เป็นเครื่องมือที่บนรถบัสทุกคันจะต้องมีตามกฎหมายของกรมขนส่งทางบก เพื่อใช้สำหรับทุบกระจกเมื่อเกิดเกิดอุบัติเหตุ หรือเกิดเหตุการณ์ฉุกเฉินต้องออกจากตัวรถแต่ไม่สามารถเปิดประตูหน้าของรถได้ เช่น รถเกิดอุบัติเหตุ กระจกไฟฟ้าและประตูใช้งานไม่ได้ ซึ่งเครื่องมือนี้จะช่วยให้ผู้โดยสารสามารถลำลายกระจกรถแล้วทำการหนีออกจากรถได้

ลักษณะของค้อนทุบกระจก

ค้อนทุบกระจกภายในรถบัสจะมีด้ามที่จับที่แข็งแรงและด้ามยาว น้ำหนักเบา เพื่อให้สะดวกต่อการใช้งาน หัวค้อนผลิตจาก Carbon steel ทนทาน แข็งแรง

วิธีใช้งาน

เมื่อต้องการใช้งานค้อนทุบกระจกให้ดึงค้อนออกจากแท่นยึดเก็บ จับที่ด้ามค้อนทุบกระจกให้แน่น จากนั้นใช้ส่วนที่เป็นปลายแหลมกรีดลงบนกระจกรถ และทุบลงที่แผ่นกระจกให้เพื่อจะทำให้กระจกหักและแตกออกแล้วจึงดันกระจกออกไป เพื่อให้ผู้โดยสารสามารถหนีออกจากรถได้โดยไม่ได้รับอันตราย โดยบริเวณที่แนะนำให้ทำการทุบกระจกจะเป็นตำแหน่งกระจกข้างตัวรถ (ห้ามทุบที่บริเวณกระจกหน้าหรือหลังรถ)

ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงเป็นอุปกรณ์ที่ใช้ในการดับเพลิงภายในรถบัส เมื่อเกิดเหตุเพลิงไหม้ในรถ เพื่อช่วยลดความเสียหายและลดอันตรายที่เกิดจากไฟไหม้บนรถได้ ตามพระราชบัญญัติกรมขนส่งทางบกกำหนดไว้ว่าถบัสโดยสารจะต้องมีถังดับเพลิงที่มีขนาดบรรจุไม่ตำ่กว่า 1 กิโลกรัม
ไว้ในตำแหน่งที่สะดวกสบายบนรถได้ ซึ่งส่วนใหญ่จะถูกติดตั้งไว้อย่างน้อย 2 ตำแหน่ง คือบริเวณเบาะหน้าใกล้คนขับ และบริเวณเบาะหลัง

ลักษณะถังดับเพลิง

ถังดับเพลิงที่นิยมใช้ภายในรถบัสจะเป็นถังดับเพลิงที่มีขนาด 2 ปอนด์ ซึ่งเป็นขนาดที่มีขนาดไม่ใหญ่มาก น้ำหนักเบา โดยสารดับที่อยู่ในถังดับเพลิงมักใช้เป็น “ผงดับเพลิง” ที่มีคุณสมบัติในการดับเพลิงแบบทั่วไป สามารถใช้ดับเพลิงได้หลายประเภท เช่น ไฟไหม้จากเครื่องยนต์ ไฟไหม้จากการชน หรือไฟไหม้ที่เกิดจากสาเหตุอื่น ๆ

วิธีใช้ถังดับเพลิง

  1. การใช้ถังดับเพลิงที่ถูกต้องจะช่วยให้การดับไฟมีประสิทธิภาพมากขึ้น ดังนั้นเมื่อประสบเหตุไฟไหม้บนรถบัสแนะนำให้ทำตามขั้นตอนดังนี้
  2. เข้าหาไฟในทิศทางที่อยู่เหนือลมเพื่อป้องกันไม่ให้ได้รับบาดเจ็บจากไฟ และช่วยให้การดับไฟทำได้ง่ายยิ่งขึ้น โดยให้เว้นระยะห่างจากฐานของไฟประมาณ 2-3 เมตร
  3. ดึงสลักนิรภัยบนหัวถังดับเพลิงออก
  4. ยกหัวฉีดชี้ไปที่ฐานของกองเพลิง จากนั้นให้กดำมือเป็นมุม 45 องศา
  5. กดไกเพื่อเปิดวาล์วถังดับเพลิงให้ก๊าซพุ่งออกมา
  6. กรวดหัวฉีดไปแบบช้าๆ ให้น้ำยาพ่นออกไปทั่วฐานของกองเพลิง จนกว่าไฟจะดับสนิท

ประตูทางออกฉุกเฉิน

ประตูทางออกฉุกเฉิน

ประตูทางออกฉุกเฉิน หรือ Emergency Exit เป็นประตูพิเศษที่ถูกออกแบบและติดตั้งบนรถบัส เพื่อใช้เป็นทางออกจากตัวรถเมื่อมีเหตุฉุกเฉิน เช่น เมื่อเกิดเหตุไฟไหม้รถ หรืออุบัติเหตุที่ทำให้ผู้โดยสารต้องติดอยู่กับตัวรถ เนื่องจากไม่สามารถใช้ประตูหน้าหรือประตูข้างของรถได้ โดยประตูทางออกฉุกเฉินบนรถบัสจะต้องมีการติดตั้งตามกฎหมายและมีการออกแบบเพื่อให้ผู้ใช้งานสามารถใช้งานได้อย่างรวดเร็ว

ลักษณะของปนะตูทางออกฉุกเฉิน

ประตูทางออกฉุกเฉินมักจะอยู่ที่ด้านหลังของรถและมีขนาดทางออกไม่น้อยกว่า 40×120 เซนติเมตร
โดยจะมีข้อความว่า “ทางออกฉุกเฉิน” เป็นตัวอักษรไทยสีแดงสะท้อนแสงขนาดความสูงไม่น้อยกว่า 5 เซนติเมตร (ทั้งภาษาไทยและภาษาอังกฤษ) ติดอยู่เหนือบริเวณที่เปิด-ปิดประตูทางออกฉุกเฉินเพื่อให้สังเกตเห็นได้ง่าย ซึ่งประตูทางออกฉุกเฉินนี้มักจะมีกดที่ปุ่มหรือโช้คอัพท์ที่ใช้ในการเปิดประตูทางออกฉุกเฉินอยู่ติดกับประตู และมีการติดตั้งระบบปิดกั้นเพื่อป้องกันการเปิดประตูจากภายนอกโดยไม่ได้รับอนุญาต โดยประตูจะมีล็อคเพียงด้านในเท่านั้น

วิธีให้ประตูทางออกฉุกเฉิน

  1. ประตูทางออกฉุกเฉินบนรถบัสแต่ละรุ่นอาจมีวิธีการใช้งานที่แตกต่างกัน แต่โดยทั่วไปแล้วจะมีขั้นตอนดังนี้
  2. ประตูฉุเฉินจะสามารถเปิดได้โดยไม่ใช้กุญแจหรือเครื่องมือใดๆ และไม่มีสิ่งของวางตั้งอยู่ที่บริเวณทางออกฉุกเฉิน เพื่อความสะดวกของการใช้งาน
  3. กดปุ่มเปิดระบบล็อคของประตูทางออกฉุกเฉิน ซึ่งปุ่มอาจจะติดอยู่ที่ประตูหรือหรือผนังข้างตัวรถ
  4. ผลักประตูทางออกฉุกเฉินออกไปด้านหน้า (ถ้าประตูไม่เปิดให้ดึงอีกครั้ง) เมื่อประตูฉุกเฉินเปิดออกให้ปล่อยบันไดแล้วค่อยๆออกจากห้องโดยสาร

อุปกรณ์เพื่อเพิ่มความปลอดภัยบนรถบัส

ติดตั้งกล้องวงจรปิด

นอกจากอุปกรณ์ฉุกเฉินเพื่อรับมือกับสถานะการณ์ที่ไม่คาดฝันแล้วเพื่อให้การเดินทางของคุณเป็นไปอย่างปลอดภัยรถบัสควรมีอุปกรณ์ต่างๆ ที่ออกแบบมาเพื่อช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุ อาทิเช่น

  • มีเข็มขัดนิรภัย (Seat Belt) ทุกที่นั่งเบาะโดยสาร เพื่อให้ผู้โดยสารมีความปลอดภัยจากเหตุอุบัติเหตุหรือการเบรคแบบเฉียบพลัน
  • การติดตั้งกล้องวงจรปิด (CCTV) เพื่อเป็นการเฝ้ารักษาความปลอดภัยภายในห้องโดยสารให้กับผู้เดินทาง
  • อุปกรณ์สัญญาณเตือน Blind Spot Detection System เพื่อตรวจจับสิ่งที่อยู่ในขอบเขตของจุดอับสายตา
  • ระบบควบคุมความเร็ว (Speed Limiter) เพื่อจำกัดความเร็วของรถบัส ซึ่งสามารถช่วยลดการเกิดอุบัติเหตุจากความเร็วของรถบัสได้
  • อุปกรณ์ช่วยเหลือการขับขี่ (Driver Assistance System) ที่จะช่วยให้การขับขี่เป็นไปอย่างปลอดภัย เช่น การเบรกฉุกเฉินอัตโนมัติ หรือการเตือนรถออกนอกเลน
  • นั่งนิรภัยสำหรับเด็กเล็ก (Car Seat) เพื่อให้เด็กเล็กสามารถเดินทางได้อย่างปลอดภัยแบบสูงสุด

สรุป

สำหรับการเลือกใช้บริการรถบัสเช่าตัวช่วยเหล่านี้ถือเป็นสำคัญมาก เพราะในยามฉุกเฉินจะช่วยให้ท่านสามารถออกจากตัวรถได้อย่างปลอดภัย ดังนั้นก่อนการเดินทางคุณควรหมั่นสังเกตต่างๆเหล่านี้เพื่อตัวของท่านเอง หากท่านสนใจใช้บริการเช่ารถบัสเพื่อเดินทางแบบหมู่คณะ หรือกลุ่มใหญ่ เพื่อจัดสัมมนา ทัศนศึกษา หรือท่องเที่ยวต่างจังหวัดทั่วประเทศไทย ภัสสรชัยทัวร์ มีรถบัสให้เลือกหลายประเภทแบบครบวงจร พร้อมพนักงานขับรถที่มีประสบการณ์มากกว่า 10 ปี ที่จะพาทุกท่านส่งถึงจุดหมายปลายทางด้วยความปลอดภัย

หากใครที่สนใจสามารถปรึกษา www.เช่ารถบัส.com หรือ ขอรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ Call Center. 02-537-8881 Official Line: @patsornchai หรือ Email : sales@patsornchaibus.com


ข้อมูลอ้างอิง

NEW REQUIREMENTS TO THE EMERGENCY EXITS OF BUSES. (22 jan 2010) Dr. MATOLCSY, M. https://unece.org/DAM/trans/doc/2010/wp29grsg/SDWEE-02-06e.pdf

Bus emergency hammer capable of performing accurate positioning. https://patents.google.com/patent/CN203651691U/en